ร้าน เม่น นางรอง
www.men-nangrong.99wat.com
0854884486
Mumumen
 
ปิดตาหลวงปู่แย้ม วัดด่านสำโรง เนื้อกะลา ( นิยมสุด ) องค์ครูเล่มใหญ่


  ส่งข้อความ

ชื่อร้านค้า
เม่น นางรอง
โดย
Pongpasin
ประเภทพระเครื่อง
พระเนื้อผง
ชื่อพระ
ปิดตาหลวงปู่แย้ม วัดด่านสำโรง เนื้อกะลา ( นิยมสุด ) องค์ครูเล่มใหญ่
รายละเอียด
หลวงพ่อแย้มเป็นพระเกจิผู้เรืองวิทยาคมในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)รุ่นเดียวกับหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ จ.สมุทรปราการ และหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ธนบุรี ท่านเป็นชาววัดด่านสำโรงโดยกำเนิด เกิดเมื่อปี พ.ศ.2387 เริ่มศึกษาอักขระสมัยตั้งแต่เป็นสามเณร จนอายุครบบวชจึงบรรพชาเป็นพระภิกษุ ณ วัดด่านสำโรง เข้าศึกษาพระปริยัติธรรม คันถธุระ และวิปัสสนาธุระ ที่วัดโพธิ์ ท่าเตียน กรุงเทพฯ จนเชี่ยวชาญแตกฉาน โดยเฉพาะการปฏิบัติวิปัสสนา จากนั้นท่านก็เริ่มออกธุดงค์ไปตามสถานที่เงียบสงบต่างๆ เพื่อฝึกฝนปฏิบัติในที่สุดจึงเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดด่านสำโรงแต่นั้นมา

หลวงพ่อแย้ม เป็นสมณสงฆ์ผู้เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและวัตรปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้มีอภิญญาสูงส่งและหลุดพ้นแล้วซึ่งกิเลสต่างๆ ท่านปฏิเสธทุกยศถาบรรดาศักดิ์ที่ได้รับการแต่งตั้ง มุ่งเพียงการดูแลปกครองวัดและพระลูกวัด รวมทั้งลูกศิษย์ลูกหาและญาติโยมที่มีความทุกข์ความเดือดร้อน ไม่หวังในลาภ ยศ หรือทรัพย์สินใดๆ ทั้งสิ้น แม้จะเป็นที่กล่าวขวัญกันว่าท่านดุเอามากๆ แต่ท่านก็เป็นที่เคารพรักของชาวบ้านด่านสำโรงและละแวกใกล้เคียงที่ประจักษ์ในความอัศจรรย์และอภินิหารต่างๆ หลวงปู่แย้มยังเป็นพระนักพัฒนา ท่านพลิกฟื้นสภาพวัดด่านสำโรง วัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยาซึ่งมีสภาพรกร้างมาเนิ่นนานให้กลายเป็นปึกแผ่นมั่นคง ด้วยการร่วมแรงร่วมใจของเหล่าลูกศิษย์ลูกหาและชาวบ้านที่เคารพศรัทธาจนเจริญรุ่งเรือง ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ.2481 รวมสิริอายุ 94 ปี 74 พรรษา

เมื่อเอ่ยถึงหลวงพ่อแย้ม วัดด่านสำโรง ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและเหรียญคณาจารย์ก็ต้องรำลึกไปถึง “พระปิดตาหลวงพ่อแย้ม”วัตถุมงคลชิ้นเอกของท่านที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก โดยเฉพาะชาวจังหวัดสมุทรปราการ นอกจากนี้ยังมี ตะกรุดพิสมร ผ้าประเจียด ผ้ายันต์ และมงคล ซึ่งล้วนทรงอิทธิปาฏิหาริย์เป็นที่ปรากฏ

พระปิดตาหลวงพ่อแย้มนั้น ท่านสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่ศิษยานุศิษย์เป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 80 ปี เมื่อปี พ.ศ.2465 โดยบางส่วนได้บรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดและมาขุดค้นพบในปี พ.ศ.2507 ลักษณะเป็นพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักปิดทอง ด้านหลังอูมแบบหลังเบี้ย สร้างจาก "ผงอิทธิเจ" ซึ่งเป็นผงทางเมตตามหานิยม ร่วมกับ “ผงวิเศษ”ที่หลวงพ่อแย้มเขียนอักขระยันต์บนกระดานชนวน แล้วลบผงเก็บสะสมไว้,ผงปถมัง, ผงมหาราช, ผงมหาเสน่ห์, ว่าน 108, ผงใบลานเผาไฟ และวัสดุอาถรรพ์ต่างๆ อาทิ ยอดสวาท เครือสาวหลง ฯลฯ จากนั้นเอามาคลุกเคล้าจนเป็นเนื้อเดียวกันโดยใช้น้ำมันตังอิ๊วเป็นตัวประสาน เมื่อเข้ากันดีแล้ว ท่านจะนำมากดพิมพ์และปลุกเสกเองทีละองค์ รวมใส่ในบาตรเพื่อบริกรรมคาถา แล้วนำองค์พระมาลงรักปิดทองเพื่อรักษาเนื้อพระเป็นอันเสร็จพิธี

หลวงพ่อแย้มไม่ได้จัดสร้าง "พระปิดตา"ในคราวเดียวกันเป็นรุ่นๆ ท่านจะค่อยทำค่อยไป ส่วนผสมต่างๆ ก็ไม่ได้มีการชั่งตวงวัด จึงทำให้เนื้อขององค์พระจะมีสีสันแตกต่างกันไป โดยแบ่งออกได้เป็น 3 สี คือ "สีน้ำตาลอ่อน" เป็นเนื้อผงขาวผสมน้ำมันตังอิ๊ว เมื่อถูกเหงื่อหรือสัมผัสจึงออกไปทางสีน้ำตาล "สีเขียว" มีส่วนผสมของใบโพธิ์ และ "สีดำ" มีส่วนผสมของเถ้าใบลานเผา

ข้อสังเกตสำหรับ “พระปิดตาหลวงพ่อแย้ม”นี้ ในตอนแรกจะมีพิมพ์เดียว แต่เมื่อทำออกไม่ทันแจก ก็ไปยืมพิมพ์หลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบมา 1 พิมพ์ ทำให้“พระปิดตาหลวงพ่อแย้ม”มีลักษณะคล้ายพระปิดตาหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบมาก ให้ดูที่เนื้อหามวลสาร พระปิดตาของหลวงพ่อแย้มเนื้อองค์พระจะค่อนข้างนวลกว่าของวัดบางกระสอบ โดยเฉพาะองค์ที่จุ่มรักจะยิ่งสังเกตได้ง่าย เพราะจะเป็นสีดำอมเทา หรือที่เรียกกันว่า ‘เนื้อกะลามะพร้าว’และพระส่วนใหญ่จะปิดทอง บางองค์ก่อนปิดทองก็ลงรักน้ำเกลี้ยงไว้อีกด้วย

ทั้งพระปิดตาหลวงพ่อแย้ม และวัตถุมงคลต่างๆ ของท่านล้วนปรากฏพุทธคุณเป็นเลิศด้านเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี ปัจจุบันผู้มีไว้ครอบครองต่างหวงแหน จึงไม่ค่อยปรากฏให้เห็นนัก หาดูหาเช่ายากยิ่ง

การจะเล่นหา "พระปิดตาหลวงปู่แย้ม" ต้องพิจารณากันให้ดีๆ เนื่องจากของทำเทียมเลียนแบบมีเยอะมากและค่อนข้างจะเหมือนอีกด้วย ทั้งการจัดสร้างก็ไม่ใช่การจัดสร้างเป็นรุ่นในคราวเดียวกันที่จะมีพิมพ์ทรง และสีสันใกล้เคียงกัน ดังนั้น จึงขอแนะนำให้สังเกตที่ลักษณะการลงรักปิดทอง ซึ่ง"พระปิดตาหลวงปู่แย้ม" จะไม่ใช่การใช้ "รัก" เป็นตัวประสาน แต่เป็นการใช้ "น้ำมันตังอิ๊ว" ประสาน ดังนั้น สีจึงไม่ใช่สีน้ำตาลของ "ชะแล็ก" ตามที่บางท่านเห็นและเข้าใจผิดหลงชื่นชมกันอยู่ครับผม
ราคา
ไม่ได้ขาย
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
-
ID LINE
Mumumen
จำนวนการเข้าชม
6,109 ครั้ง
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
ธนาคารไทยพาณิชย์ / 405-3-30295-0